วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

Thailand Energy Trading by Blockchain

Overview of Blockchain for Energy and Commodity Trading (แปล)

เขียนโดย EY Building a better working world

ฉบับแปลโดย A. Kwangkaew 
(หากผิดพลาดประการใด สามารถแจ้งทางผู้เขียนทันที จักขอบพระคุณอย่างยิ่ง)
(เขียนเมื่อ 1-16 พ.ค. 2561)


เกริ่นนำจากผู้แปล

กล่าวถึงเรื่องการ ซื้อ-ขาย พลังงานไฟฟ้าอย่างอิสระที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระบบไฟฟ้าของประเทศไทย ทำให้ผู้คนสามารถเลือกซื้อพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายใดๆก็ได้ตามที่ปราถนา ในขณะเดียวกันยังสามารถขายพลังงานไฟฟ้าได้เองอีกด้วย การซื้อขายดังกล่าวจะเกิดขึ้นบนโลก Cyber พูดง่ายๆก็คือ เราสามารถ ซื้อ-ขาย พลังงานไฟฟ้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์มือถือ รวมถึง Notebook หรือ PC  ก็ได้   แน่นอนว่าข้อจำกัดเรื่องของต้นทุนในการสร้างระบบขึ้นมานั้นต้องใช้จำนวนเงินที่มากมากมายมหาศาลและยังต้องแบกรับความเสี่ยงในช่วงแรกเริ่มอย่างหนัก รวมถึงข้อจำกัดของต้นทุนในด้านความปลอดภัย  สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งที่การไฟฟ้าจะต้องคำนึงถึงอย่างมาก  
โชคดีที่ปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ที่ความสามารถจัดการกับข้อจำกัดข้างต้นได้อย่างน่าทึ่ง ไม่ทันไรก็มีการใช้งานระบบนี้ไปแล้วในต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตอันไม่ไกล โลกแห่งการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน!!

ขุมพลังแห่ง Blockchain

ในการดำเนินการขององค์กรหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการการค้าสินค้าและพลังงาน ในแต่ละวันจะเผชิญบันทึกทางธุรกรรมที่มาจากการ ซื้อ ขาย (Transection) ที่เกิดขึ้นนับหลายพันกว่ารายการ  องค์กรหรือบริษัทดังกล่าวจะต้องใช้เงินทุนมหาศาลในการสร้างระบบที่ซับซ้อน และลงทุนจัดการกับความเสี่ยงอีกด้วย ท้ายที่สุดแล้วบริษัทจะหมดเงินส่วนใหญ่ไปกับการดูแลรักษาระบบ และจัดการกับความเสี่ยงที่แอบแผงอยู่ ในขณะเดียวกันก็ยังคงต้องแบกรับภาระความเสี่ยงเนื่องจากโครงสร้างการตลาดที่ตนบริหารอยู่
เทคโนโลยี Blockchain ที่นำมาใช้สำหรับการค้าสินค้าและพลังงานนั้น มีความสามารถในการเปลี่ยนรูปแบบทั้งหมด ทำให้การค้ามีประสิทธิภาพและยังมีราคาต้นทุนที่ต่ำ ความเหมาะสมกับผู้ค้าอีกด้วย  ในขณะนี้ เทคโนโลยี Blockchain ยังคงอยู่ในขั้นต้นของการทำการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา ก่อนที่จะเริ่มนำมาใช้งาน โดยมีแนวโน้มที่จะใช้นำมาใช้งานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทางด้านการเงินที่เป็นการค้ารวมถึงใช้จัดการกับความเสี่ยง ผู้นำด้านพลังงานอย่างเช่น EY ของต่างประเทศ ก็มิได้รอช้าที่จะนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เป็นรายแรกในแวดวงธุรกรรมการค้าสินค้าและพลังงาน

* "บัญชีแยกประเภท (ledger) แบบกระจายและเปิด ที่สามารถบันทึกธุรกรรมระหว่างบุคคลสองพวกอย่างมีประสิทธิภาพ"  แปลโดย wikipedia  


Blockchain คืออะไร 

"เทคโนโลยี Blockchain เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยไม่ต้องมีศูนย์กลางในการจัดการ" โครงสร้างของ Blockchain ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า *Distributed legder structure (ตามรูปที่ 1) ซึ่งก็คือโครงสร้างข้อมูลแบบกระจายและเปิด (พูดง่ายๆคือ ข้อมูลที่กระจายไปยังทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน และทุกคนนั้นจะถือข้อมูลเหมือนกันทั้งหมด )  ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของ Blockchain คือข้อมูลในแต่ละส่วนของบัญชีนั้นจะถูกเก็บไว้ใน Block หลายๆ Block แทนที่จะอยู่รวมกันเป็นไฟล์เดียว และหากมีข้อมูลธุรกรรมใดๆเกิดขึ้นมาใหม่ Block ก็จะถูกสร้างใหม่โดยไปเชื่อมต่อกับ Block อันก่อนหน้า จากนั้นก็ทำการเข้ารหัส cryptographic hash เกิดเป็น "chained" หรือ โซ่ มาต่อๆกันและมีการเรียงลำดับ ก่อน-หลัง อย่างชัดเจน  ผลทำให้ข้อมูลไม่ถูกเปิดเผย และ หากมีผู้ใดจงใจที่จะแก้ไขข้อมูลใน Block ทุกคนใน Network ก็จะต้องเห็นและทราบ  ด้วยกระบวนการนี้เองทำให้บัญชีแบบกระจายข้อมูล distributed legder สามารถถูกแชร์และทำให้สามารถผู้คนร่วมกันทำงานได้จากหลายๆแห่ง  เช่น ในระดับสำนักงานต่างๆที่ หรือ หลายๆประเทศ แต่ต้องได้รับอนุญาติจากคนใดคนหนึ่งก่อนตาความเหมาะสมในแต่ละประเภทของ Blockchain นั้น



 รูปที่ 1 โครงสร้างโครงสร้างข้อมูลแบบกระจายและเปิด (Distributed legder structure) 


ประเภทของ Blockchain

Blockchain แบ่งประเภทได้ตามขอบเขตความเป็นส่วนตัวได้แก่ ประเภทที่เป็นสาธารณะ(Public)  ประเภทที่เป็นส่วนตัว(Private) หรือ ประเภทที่เป็นกึ่งสาธารณะกึ่งส่วนตัว(Hybrid) ทั้งนี้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน เปรียบเสมือนกับ ขอบเขต ของอินเตอร์เน็ตสาธารณะ และ อินเตอร์เน็ตภายในสำนักงาน
Public and permissionless:  เป็น blockchain ที่คล้ายคลึงกับ Bitcoin ที่เป็น blockchain แบบดั้งเดิม จะมี Transaction ทั้งหมดที่อยู่ใน Blockchain ที่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ และทุกคนสามารถเข้าร่วม join กับ network ของ blockchain ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติใดๆ
Private and permissioned: blockchain จะถูกออกแบบมาให้มีข้อจำกัดในผู้เข้าร่วม ซึ่งรูปแบบนี้จะมีธุรกรรม (Transaction) ที่ค่อนข้างเป็น Private โดยทุกๆการกระทำต้องได้รับจากผู้ที่มีสิทธิเป็นเจ้าของหรือไม่ก็ผู้ดูแลระบบก่อนที่จะเข้าร่วม network ทำให้รูปแบบนี้เหมาะสมกับองค์กรหรือกลุ่มสมาคมที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการบริหารจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆในห่วงโซ่อุตสาหกรรม (industry value chain opportnities) ภายใน
Hybrid blockchains: ด้วยโครงข่ายที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการผสมผสานทางด้าน chain ที่มีการอนุญาตให้ blockchain ต่างประเภท (Public หรือ Private) สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ ทำให้สามารถเข้าถึง transaction ระหว่าง network ของ blockchain ได้

Blockchain กับ วงจรธุรกรรมซื้อขายสินค้าและพลังงาน 
วงจรธุรกรรมซื้อขายสินค้าและพลังงาน แม้สำหรับการทำธุรกรรมง่ายๆก็ยังก่อให้เกิดขั้นตอนมากมาย ไม่เพียงแต่ภายในแต่ละบริษัทเองเท่านั้น  แต่ยังไปถึงผู้เข้าร่วมตลาด  ที่ต้องทำการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลหลายครั้งตลอดการดำเนินการตลอดกระบวนการต้นจนจบ  นอกจากนี้บริษัทจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อกับคู่ค้า การแลกเปลี่ยน ตัวแทนจำหน่าย จัดการเรื่องขนส่ง ด้านการเงิน นักกฏหมายและ price reporter ตามรูปที่ 2 ที่เกิดขึ้นบนเว็ปไซต์นั้นเอง ส่งผลให้เกิดการมีปฎิสัมพันธ์เหล่านี้มากขึ้น  และเพื่อให้มีธุรกรรมต่างๆความถูกต้องทั้งหมดระบบจึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและควบคุมระบบอยู่เสมอ


รูปที่ 2 วัฏจักรของธุรกรรมการซื้อขายสินค้าและพลังงาน 
(Energy and commodity transition life cycle)


เทคโนโลยี Blockchain ทำให้ระบบภายในมีความคล่องตัวมากขึ้น สามารถแชร์ไปยังบุคคลภายนอกหรือการค้าภายนอกได้ ทำให้รูปแบบการค้าของสิ้นค้าและพลังงานเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ไม่เพียงแต่เกิดความคล้องตัวของระบบเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มราคาต้นทุนที่ถูกลง (เช่น ค่าจ้างและแรงงานต่ำลง  มีกระบวนการแบบกึ่งอัตโนมัติทำให้ลดต้นทุนลง สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้รวดเร็วมากขึ้น นอกจากนนี้ยังมีต้นทุนทางเทคโนโลยีถูกลง และมีความเป็นอิสระมากขึ้น) ด้วยเห็นนี้จึงมีบริษัทหนึ่งได้มีการประมาณราคาต้นทุนจากโครงสร้างในการในการดำเนินและในแง่ของเทคโนโลยี พบว่าประหยัดต้นทุนไปได้ประมาณร้อยละ 30 ถึง 60 ทีเดียว โดย EY ได้ดำเนินการทำการศึกษาให้แนวโน้มการประหยัดให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมให้มากขึ้น

การใช้งานเทคโนโลยี Blockchain ได้ทำให้เกิดความโปร่งใส่ตรงไปตรงมา กระบวนการภายใน (ได้แก่ กระบวนการตรวจสอบ การจัดการความเสี่ยง และระบบตรวจตราให้แก่เจ้าหน้าที่ เป็นต้น) และการติดต่อกับหน่วยงานภายนอก (ได้แก่ การทำข้อตกลงการค้า  การตรวจสอบการค้า และ  การดูแลทางด้านเอกสารและข้อยุติต่างๆ) ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีสามารถที่ทำให้เกิดการขยายตัวของการค้าไปสู่ทรัพย์สินดิจิตัลใหม่ๆ เช่น แผนของผลิตภัณธ์ของ Royal Mint Gold ตลอดจน CME group และ Royal Mint Group 

5 ประเด็นที่ ที่ EY นำมาใช้สำหรับประเมินระบบที่จะมีสามารถนำ Blockchain มาใช้ในกระบวนการทางธุรกรรมซื้อขาย จะต้องตอบคำถามให้ได้ 5 ข้อดังต่อไปนี้

1. ระบบการซื้อขายมีบริษัทคู่ค้าหลากหลายแห่งหรือไม่?
ตอบ: Blockchain จะมีความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อมีหลายๆฝ่ายในโครงข่ายนั้นมากขึ้น แต่ถ้าหากมีแค่แห่งเดียวก็จะไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร

2. จำเป็นต้องมีการสร้างความเชื่อถือระหว่างบริษัทคู่ค้าหรือไม่ ?
ตอบ: Blockchain ทำให้มีความเชื่อถือระหว่างบริษัทคู่ค้าแต่ละแห่งมากขึ้น เนื่องจากยิ่งมีการตรวจสอบจากหลายฝ่ายก็ยิ่งมีความเชื่อถือมากขึ้น

3. มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บหลักฐานบัญชีไว้อย่างถาวรโดยที่บัญชีนั้นไม่สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้?
ตอบ: Blockchain จะสร้างบันทึกไว้อย่างถาวรซึ่งไม่สามารถแก้ไขหรือทำการลบได้

4. ต้องมีการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ (ต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นส่วนตัว) หรือ จำกัดการเข้าถึงข้อมูลทรัพย์กรที่มีอยู่ หรือไม่?
ตอบ: Core logic ในระบบถูกออกแบบมาให้มีการป้องกันไม่ให้มีการเข้าถึงงสินทรัพย์ ข้อมที่มีเจ้าของและข้อมูลการรับ-โอนใดๆ

5. ระบบนี้มีต้องการให้มีความโปร่งใส่หรือไม่?
ตอบ: Blockchain ถูกออกแบบมาให้มีความโปร่งใสโดยสิทธิความเป็นเจ้าของ หรือ การควบคุมของทรัพย์สินถูกเผยแก่สาธารณะ (สาธารณะทราบว่าใครเป็นเจ้าของ หรือใครควบคุมสิ่งนั้นๆ ) และ ตรวจสอบได้

โครงการนำร่องชื่อดังหลายโครงการที่นำ blockchain มาทำลองใช้กับระบบ และมีการบังคับใช้งานในแวดวงการซื้อขายสินค้าและพลังงานไปเรียบร้อยแล้ว ได้แก่

  • ผู้ประกอบการสินค้าบริโภคทั่วโลกรายหนึ่งดำเนินโครงการนำร่อง กับธนาคาร 2 แห่งในการนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้ในกระบวนการสร้างเครดิตในการขนส่งสินค้าด้วยเครื่องบิน
  • ผู้ประกอบการสินค้าบริโภคทั่วโลกรายหนึ่งที่ทำงานร่วมกับธนาคาร 1 แห่งและพันธมิตรทางเทคโนโลยี ร่วมกันพัฒนา finalcial platform ของการซื้อขายสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมการซื้อขายน้ำมันดิบในสหรัฐฯ
  • กลุ่มบริษัทที่เกี่ยวกับด้านพลังงานของยุโรปและบริษัท Wein Energy, BP และ ENI ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีที่ชื่อว่า BTL Group Ltd. ภายใต้การสนับสนุนของ EY จัดทำโครงการนำร่องของการนำเทคโนโลยี blockchain เพื่อความร่วมมือในการซื้อขายพลังงาน
  • กลุ่มบริษัทด้านพลังงานยุโรปกว่า 20 แห่ง ร่วมกันจัดทำโครงการทดลองการขายส่งพลังงานและการทำธุรกรรมเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติบนแพลตฟอร์มด้วย blockchain

ในการใช้งานนำ technology blockchain มาใช้งานในแวดวงธุรกรรมการซื้อขายสิ้นค้าและพลังงานนั้น ทางด้าน EY เชื่อว่าส่ิงที่มีคุณค่ามากที่สุดอยู่ที่การพัฒนาระบบนิเวศ Blockchain ที่เป็นส่วนตัว “a private blockchain-enabled ecosystem” ให้ครอบคลุมทุกขั้นตอนการทำธุรกรรมตั้นแต่ต้นจนจบ หรือ end-to-end จากนั้นเมื่อนำ blockchain มาเป็นกลไกในการกำหนดราคาซื้อขายอย่างครอบคลุมทุกขั้นตอนแล้ว ก็สามารถประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนต่างๆได้อย่างง่ายดาย แต่ว่าความท้าทายทางปฏิบัตินั้นอาจจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการนำไปใช้ในวงกว้างก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ หรือ สิ่งจูงใจของผู้ครองตลาด อย่างไรตามเพื่อให้การกำหนดแนวทางที่ชัดเจนและแนวมีทางการกำหนดเป้าหมายที่มีศักยภาพนั้นมีข้อแนะนำดังนี้
  • มีการ design สถาปัตยกรรมเบื้องต้วให้สามารถการขยายตัวและการรับมือกับคู่แข่ง กล่าวได้ว่าการ design นั้นต้องให้ครอบคลุมถึงมาตรฐานของวงจรธุรกรรม และรองรับผู้ร่วมจำนวนมากเพื่อให้สามารถรองรับการทำธุรกรรมหลากหลาย
  • พัฒนาแต่ละขั้นตอนหรือโมลดูลต่างอย่างต่อเนื่อง(เช่น โมลดูลสำหรับการยืนยัน, การวางขอบเขต, การทำให้เกิดขึ้นอย่างจริง และ การชำระเงิน) และผสานรวมเข้าด้วยกันอย่างราบรื่น  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถจัดลำดับความสำคัญของกระบวนการต่างๆที่มีประโยชน์มากขึ้นและลดความเสี่ยงโดยเฉพาะในระยะสั้นลงได้ดียิ่งขึ้น
EY ได้จัดงานที่ชื่อว่า 2016 Start-up Challenge โดยที่เน้นเรื่องของการใช้ blockchain ในการซื้อขายพลังงานมาเพื่อพิสูจน์แนวคิดนี้ โดย EY ได้สร้างกลุ่มชื่อว่า Blockchain for Energy Trading Working Group ที่เป็นการรวมตัวจากหลากหลายบริษัทที่เป็นผู้นำทางด้านการค้าพลังงาน โดยจะติดตามแนวทางการขับเคลื่อนระบบที่มีรูปแบบการทำงานตั้งแต่ end-to-end โดเฉพาะการใช้เทคโนโลยี blockchain ในแวดวงการซื้อขายสินค้าและพลังงาน  ในฐานะที่เป็นกลุ่มทำงานแนวหน้า EV จะพยายามเข้าถึงปัญหาต่างๆที่ยังเกิดขึ้นอยู่ ที่เป็นรูปธรรมและให้พร้อมถึงผู้ครอบครองตลาดที่จะเข้าร่วมโครงการ









วันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

SSH warning - WARNING: REMOTE HOST IDENTIFICATION HAS CHANGE

This a problem that can not access raspberry PI by ssh

MacBook-Pro-de-myname:~ myname$ ssh pi@192.168.xx.xx @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ @ WARNING: REMOTE HOST IDENTIFICATION HAS CHANGED! @ @@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@@ IT IS POSSIBLE THAT SOMEONE IS DOING SOMETHING NASTY! Someone could be eavesdropping on you right now (man-in-the-middle attack)! It is also possible that a host key has just been changed. The fingerprint for the RSA key sent by the remote host is bx:fa:bx:b4:51:fe:xe:c7:1f:xx:ff:bf:4a:47:68:4a. Please contact your system administrator. Add correct host key in /Users/myname/.ssh/known_hosts to get rid of this message. Offending RSA key in /Users/myname/.ssh/known_hosts:1 RSA host key for 192.168.xx.xx has changed and you have requested strict checking. Host key verification failed.


1.
Need to delete perious ssh name in MAC (because Mac remember the old one)

You only need to code this on terminal
>> ssh-keygen -R {RPi-IP-Address}


How to Install Raspbian OS on Raspberry Pi for Mac

For beginner who start to work/play with Raspberry Pi. First of all, you need to install the operation system(OS) on it.  You can choose OS you need via this link  https://www.raspberrypi.org/downloads/. This link is the main official for raspberry PI.

For this section, I will choose the OS call " Raspbian" .


You can also do following " https://www.youtube.com/watch?v=xhZjpYQImck " like me.


  1. For Mac, you need to open Safari and head to raspberrypi.org/downloads Click on Raspbian. Click Download ZIP under Raspbian Jessie (the full version, not Raspbian Jessie Lite).

วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

Softmax vs Sigmoid

อธิบายแบบง่ายกว่าในนั้นคือ
sigmoid เป็น การวัดค่าความเก่งในตัวมันเอง 1/1+exp(-x) ถ้า x ยิ่งเยอะ ค่าก็ยิ่งเข้าหา 1 เพราะ exp(-inf) = 0 >>>>>>>> lim 1/1-0 = 1 ถ้า x ยิ่งน้อยค่าก็ยิ่งเข้าหา 0 เพราะ exp(inf) = inf >>>>>>>> lim 1/1+inf = 0

จะเห็นแค่มันวัดค่า true false อยู่กับตัวมันเอง ทีนี้สมมติว่าเรามี node output  NN  2 อัน node สองอันนั้นมันก็จะเป็น independent กัน
แต่ softmax เป็น exp(xi)/sum(exp(xiถึงxn)) ถ้าเราถอด exp ออกมันก็คือค่าความน่าจะเป็นธรรมดา พอผ่านแบ็คพรอพแล้วมันแอดจัสค่า xi แต่ละตัวอีกรอบบางตัวเพิ่ม บางตัวลด สมมติว่า ถ้าค่า exp xi ตัวใดตัวนึงสูงขึ้น ต่อให้ตัวอื่นคงที่ ค่าprob ของตัวอื่นก็จะลด สรุปคือมัน dependent กัน

ถาม: ฟังก์ชั่นทั้งสองใช้กับ multiclass ได้หรือไม่
ตอบ: ได้ทั้งสองอัน ขึ้นอยู่กับ architecture ของ NN เรา

ถาม: ฟังก์ชั่นทั้งสองอันไหนดีกว่า
ตอบ: ขึ้นอยู๋กับคลาสงาน ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าเราต้องการแค่ค่า maximum เป้าหมายอย่างเดียวเช่นแยกภาพ หมา กับ แมว softmax เป็นทางเลือกที่ง่ายกว่า แต่ถ้าต้องการคำตอบแบบเป็น ranking กรณีที่คำตอบมันอาจจะเป็นก้ำกึ่งๆระหว่างสองคลาสได้เช่น แยกพันธ์หมา แล้วมีพวกพันธ์ที่คล้ายกันอยู่มากเช่น พันธ์ชิบะ อาคิตะ คอร์กิ (multiclass relevance) sigmoid จะช่วยให้เราจัดอันดับแร้งค์กิ้งได้ดีกว่า

ถ้าจะเอาละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้แนะว่าอ่านนี่ดีกว่าครับ
http://cs231n.github.io/linear-classify/#softmax

และ
Softmax vs Sigmoid
http://dataaspirant.com/2017/03/07/difference-between-softmax-function-and-sigmoid-function/

How to connect Raspberry Pi to MAC with Ethernet to USB port

How to connect Raspberry Pi to MAC with Ethernet to USB port

Devices
- Raspberry Pi 2 B+
- Ethernet to USB port
- MacBook Pro Ratina Sierra OS

Actually, you can follow this link:

https://www.youtube.com/watch?v=UXhZMWgVtoA

I also leant from this link and need to share / note my self.


Preliminary 

To see your ethernet to USB port 
As following figure:


1. Go to "About This Mac" at Top-Left a Mac home display.

2. Go " System Report"




 3. You will see port USB connecting with your MAC as the figure below:







STEP 1:

Connect the devices together as the figure. Don't forget to turn on your raspberry Pi with any supply.



STEP 2:

Go to system Preferences
And do follow the step in figures:




















STEP 3:
Turn on Terminal on you mac.
And find IP address of PI, type this:

>>> ifconfig


Look at " bridge100....." at " 
You will see the IP is after "inet  <IP1>... " as:





So, you can get the IP.

STEP 4:
run as follow:

>>>nmap -n -sP <IP1>/24

It will run for finding any possible IP and also recovery all of them.
Then you will get the raspberry PI for access by SHH (Secure Shell).
First IP is you computer. The second is your raspberry pi's IP as figure:





Then you can SHH by using the rasppi-IP this to access you R PI as example:

>>ssh pi@< rasppi-IP>


 Default of Raspberry PI is
Username : pi
Password  : raspberry

Enjoy your PI :)