Overview of Blockchain for Energy and Commodity Trading (แปล)
เขียนโดย EY Building a better working world
ฉบับแปลโดย A. Kwangkaew
(หากผิดพลาดประการใด สามารถแจ้งทางผู้เขียนทันที จักขอบพระคุณอย่างยิ่ง)
(เขียนเมื่อ 1-16 พ.ค. 2561)
เกริ่นนำจากผู้แปล
กล่าวถึงเรื่องการ ซื้อ-ขาย พลังงานไฟฟ้าอย่างอิสระที่จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนในระบบไฟฟ้าของประเทศไทย ทำให้ผู้คนสามารถเลือกซื้อพลังงานไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายใดๆก็ได้ตามที่ปรารถนา ในขณะเดียวกันยังสามารถขายพลังงานไฟฟ้าได้เองอีกด้วย การซื้อขายดังกล่าวจะเกิดขึ้นบนโลก Cyber พูดง่ายๆก็คือ เราสามารถ ซื้อ-ขาย พลังงานไฟฟ้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ตด้วยโทรศัพท์มือถือ รวมถึง Notebook หรือ PC ก็ได้ แน่นอนว่าข้อจำกัดเรื่องของต้นทุนในการสร้างระบบขึ้นมานั้นต้องใช้จำนวนเงินที่มากมากมายมหาศาลและยังต้องแบกรับความเสี่ยงในช่วงแรกเริ่มอย่างหนัก รวมถึงข้อจำกัดของต้นทุนในด้านความปลอดภัย สิ่งเหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งที่การไฟฟ้าจะต้องคำนึงถึงอย่างมาก
โชคดีที่ปัจจุบันนี้ มีเทคโนโลยีที่เรียกว่า Blockchain ที่ความสามารถจัดการกับข้อจำกัดข้างต้นได้อย่างน่าทึ่ง ไม่ทันไรก็มีการใช้งานระบบนี้ไปแล้วในต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตอันไม่ไกล โลกแห่งการซื้อขายพลังงานไฟฟ้าของประเทศไทยจะต้องเปลี่ยนไปอย่างแน่นอน!!
ขุมพลังแห่ง Blockchain
ในการดำเนินการขององค์กรหรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับการการค้าสินค้าและพลังงาน ในแต่ละวันจะเผชิญบันทึกทางธุรกรรมที่มาจากการ ซื้อ ขาย (Transection) ที่เกิดขึ้นนับหลายพันกว่ารายการ องค์กรหรือบริษัทดังกล่าวจะต้องใช้เงินทุนมหาศาลในการสร้างระบบที่ซับซ้อน และลงทุนจัดการกับความเสี่ยงอีกด้วย ท้ายที่สุดแล้วบริษัทจะหมดเงินส่วนใหญ่ไปกับการดูแลรักษาระบบ และจัดการกับความเสี่ยงที่แอบแผงอยู่ ในขณะเดียวกันก็ยังคงต้องแบกรับภาระความเสี่ยงเนื่องจากโครงสร้างการตลาดที่ตนบริหารอยู่
เทคโนโลยี Blockchain ที่นำมาใช้สำหรับการค้าสินค้าและพลังงานนั้น มีความสามารถในการเปลี่ยนรูปแบบทั้งหมด ทำให้การค้ามีประสิทธิภาพและยังมีราคาต้นทุนที่ต่ำ ความเหมาะสมกับผู้ค้าอีกด้วย ในขณะนี้ เทคโนโลยี Blockchain ยังคงอยู่ในขั้นต้นของการทำการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนา ก่อนที่จะเริ่มนำมาใช้งาน โดยมีแนวโน้มที่จะใช้นำมาใช้งานอย่างแพร่หลายโดยเฉพาะงานที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการทางด้านการเงินที่เป็นการค้ารวมถึงใช้จัดการกับความเสี่ยง ผู้นำด้านพลังงานอย่างเช่น EY ของต่างประเทศ ก็มิได้รอช้าที่จะนำเทคโนโลยี Blockchain มาใช้เป็นรายแรกในแวดวงธุรกรรมการค้าสินค้าและพลังงาน
* "บัญชีแยกประเภท (ledger) แบบกระจายและเปิด ที่สามารถบันทึกธุรกรรมระหว่างบุคคลสองพวกอย่างมีประสิทธิภาพ" แปลโดย wikipedia
Blockchain คืออะไร
"เทคโนโลยี Blockchain เป็นวิธีการจัดการกับข้อมูล โดยไม่ต้องมีศูนย์กลางในการจัดการ" โครงสร้างของ Blockchain ในภาษาอังกฤษจะใช้คำว่า *Distributed legder structure (ตามรูปที่ 1) ซึ่งก็คือโครงสร้างข้อมูลแบบกระจายและเปิด (พูดง่ายๆคือ ข้อมูลที่กระจายไปยังทุกคนที่อยู่ในเครือข่ายเดียวกัน และทุกคนนั้นจะถือข้อมูลเหมือนกันทั้งหมด ) ลักษณะเด่นอย่างหนึ่งของ Blockchain คือข้อมูลในแต่ละส่วนของบัญชีนั้นจะถูกเก็บไว้ใน Block หลายๆ Block แทนที่จะอยู่รวมกันเป็นไฟล์เดียว และหากมีข้อมูลธุรกรรมใดๆเกิดขึ้นมาใหม่ Block ก็จะถูกสร้างใหม่โดยไปเชื่อมต่อกับ Block อันก่อนหน้า จากนั้นก็ทำการเข้ารหัส cryptographic hash เกิดเป็น "chained" หรือ โซ่ มาต่อๆกันและมีการเรียงลำดับ ก่อน-หลัง อย่างชัดเจน ผลทำให้ข้อมูลไม่ถูกเปิดเผย และ หากมีผู้ใดจงใจที่จะแก้ไขข้อมูลใน Block ทุกคนใน Network ก็จะต้องเห็นและทราบ ด้วยกระบวนการนี้เองทำให้บัญชีแบบกระจายข้อมูล distributed legder สามารถถูกแชร์และทำให้สามารถผู้คนร่วมกันทำงานได้จากหลายๆแห่ง เช่น ในระดับสำนักงานต่างๆที่ หรือ หลายๆประเทศ แต่ต้องได้รับอนุญาติจากคนใดคนหนึ่งก่อนตาความเหมาะสมในแต่ละประเภทของ Blockchain นั้น
รูปที่ 1 โครงสร้างโครงสร้างข้อมูลแบบกระจายและเปิด (Distributed legder structure)
ประเภทของ Blockchain
Blockchain แบ่งประเภทได้ตามขอบเขตความเป็นส่วนตัวได้แก่ ประเภทที่เป็นสาธารณะ(Public) ประเภทที่เป็นส่วนตัว(Private) หรือ ประเภทที่เป็นกึ่งสาธารณะกึ่งส่วนตัว(Hybrid) ทั้งนี้เป็นไปตามความต้องการของผู้ใช้งาน เปรียบเสมือนกับ ขอบเขต ของอินเตอร์เน็ตสาธารณะ และ อินเตอร์เน็ตภายในสำนักงาน
Public and permissionless: เป็น blockchain ที่คล้ายคลึงกับ Bitcoin ที่เป็น blockchain แบบดั้งเดิม จะมี Transaction ทั้งหมดที่อยู่ใน Blockchain ที่ถูกเปิดเผยสู่สาธารณะ และทุกคนสามารถเข้าร่วม join กับ network ของ blockchain ได้โดยไม่ต้องขออนุญาติใดๆ
Private and permissioned: blockchain จะถูกออกแบบมาให้มีข้อจำกัดในผู้เข้าร่วม ซึ่งรูปแบบนี้จะมีธุรกรรม (Transaction) ที่ค่อนข้างเป็น Private โดยทุกๆการกระทำต้องได้รับจากผู้ที่มีสิทธิเป็นเจ้าของหรือไม่ก็ผู้ดูแลระบบก่อนที่จะเข้าร่วม network ทำให้รูปแบบนี้เหมาะสมกับองค์กรหรือกลุ่มสมาคมที่ต้องการความเป็นส่วนตัวในการบริหารจัดการสิ่งที่เกิดขึ้นต่างๆในห่วงโซ่อุตสาหกรรม (industry value chain opportnities) ภายใน
Hybrid blockchains: ด้วยโครงข่ายที่เพิ่มมากขึ้นทำให้เกิดการผสมผสานทางด้าน chain ที่มีการอนุญาตให้ blockchain ต่างประเภท (Public หรือ Private) สามารถติดต่อสื่อสารซึ่งกันและกันได้ ทำให้สามารถเข้าถึง transaction ระหว่าง network ของ blockchain ได้
Blockchain กับ วงจรธุรกรรมซื้อขายสินค้าและพลังงาน
วงจรธุรกรรมซื้อขายสินค้าและพลังงาน แม้สำหรับการทำธุรกรรมง่ายๆก็ยังก่อให้เกิดขั้นตอนมากมาย ไม่เพียงแต่ภายในแต่ละบริษัทเองเท่านั้น แต่ยังไปถึงผู้เข้าร่วมตลาด ที่ต้องทำการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลหลายครั้งตลอดการดำเนินการตลอดกระบวนการต้นจนจบ นอกจากนี้บริษัทจำเป็นที่จะต้องมีการติดต่อกับคู่ค้า การแลกเปลี่ยน ตัวแทนจำหน่าย จัดการเรื่องขนส่ง ด้านการเงิน นักกฏหมายและ price reporter ตามรูปที่ 2 ที่เกิดขึ้นบนเว็ปไซต์นั้นเอง ส่งผลให้เกิดการมีปฎิสัมพันธ์เหล่านี้มากขึ้น และเพื่อให้มีธุรกรรมต่างๆความถูกต้องทั้งหมดระบบจึงจำเป็นต้องมีการบำรุงรักษาและควบคุมระบบอยู่เสมอ
(Energy and commodity transition life cycle)
เทคโนโลยี Blockchain ทำให้ระบบภายในมีความคล่องตัวมากขึ้น สามารถแชร์ไปยังบุคคลภายนอกหรือการค้าภายนอกได้ ทำให้รูปแบบการค้าของสิ้นค้าและพลังงานเกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ไม่เพียงแต่เกิดความคล้องตัวของระบบเท่านั้น แต่ยังมีแนวโน้มราคาต้นทุนที่ถูกลง (เช่น ค่าจ้างและแรงงานต่ำลง มีกระบวนการแบบกึ่งอัตโนมัติทำให้ลดต้นทุนลง สามารถชำระค่าใช้จ่ายได้รวดเร็วมากขึ้น นอกจากนนี้ยังมีต้นทุนทางเทคโนโลยีถูกลง และมีความเป็นอิสระมากขึ้น) ด้วยเห็นนี้จึงมีบริษัทหนึ่งได้มีการประมาณราคาต้นทุนจากโครงสร้างในการในการดำเนินและในแง่ของเทคโนโลยี พบว่าประหยัดต้นทุนไปได้ประมาณร้อยละ 30 ถึง 60 ทีเดียว โดย EY ได้ดำเนินการทำการศึกษาให้แนวโน้มการประหยัดให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
การใช้งานเทคโนโลยี Blockchain ได้ทำให้เกิดความโปร่งใส่ตรงไปตรงมา กระบวนการภายใน (ได้แก่ กระบวนการตรวจสอบ การจัดการความเสี่ยง และระบบตรวจตราให้แก่เจ้าหน้าที่ เป็นต้น) และการติดต่อกับหน่วยงานภายนอก (ได้แก่ การทำข้อตกลงการค้า การตรวจสอบการค้า และ การดูแลทางด้านเอกสารและข้อยุติต่างๆ) ยิ่งไปกว่านั้นเทคโนโลยีสามารถที่ทำให้เกิดการขยายตัวของการค้าไปสู่ทรัพย์สินดิจิตัลใหม่ๆ เช่น แผนของผลิตภัณธ์ของ Royal Mint Gold ตลอดจน CME group และ Royal Mint Group
5 ประเด็นที่ ที่ EY นำมาใช้สำหรับประเมินระบบที่จะมีสามารถนำ Blockchain มาใช้ในกระบวนการทางธุรกรรมซื้อขาย จะต้องตอบคำถามให้ได้ 5 ข้อดังต่อไปนี้
ตอบ: Blockchain จะมีความปลอดภัยมากขึ้นเมื่อมีหลายๆฝ่ายในโครงข่ายนั้นมากขึ้น แต่ถ้าหากมีแค่แห่งเดียวก็จะไม่ปลอดภัยเท่าที่ควร
2. จำเป็นต้องมีการสร้างความเชื่อถือระหว่างบริษัทคู่ค้าหรือไม่ ?
ตอบ: Blockchain ทำให้มีความเชื่อถือระหว่างบริษัทคู่ค้าแต่ละแห่งมากขึ้น เนื่องจากยิ่งมีการตรวจสอบจากหลายฝ่ายก็ยิ่งมีความเชื่อถือมากขึ้น
3. มีความจำเป็นที่จะต้องเก็บหลักฐานบัญชีไว้อย่างถาวรโดยที่บัญชีนั้นไม่สามารถป้องกันการปลอมแปลงได้?
ตอบ: Blockchain จะสร้างบันทึกไว้อย่างถาวรซึ่งไม่สามารถแก้ไขหรือทำการลบได้
4. ต้องมีการพิสูจน์ความเป็นเจ้าของ (ต้องการความเป็นส่วนตัว ไม่เปิดเผยข้อมูลที่เป็นส่วนตัว) หรือ จำกัดการเข้าถึงข้อมูลทรัพย์กรที่มีอยู่ หรือไม่?
ตอบ: Core logic ในระบบถูกออกแบบมาให้มีการป้องกันไม่ให้มีการเข้าถึงงสินทรัพย์ ข้อมที่มีเจ้าของและข้อมูลการรับ-โอนใดๆ
5. ระบบนี้มีต้องการให้มีความโปร่งใส่หรือไม่?
ตอบ: Blockchain ถูกออกแบบมาให้มีความโปร่งใสโดยสิทธิความเป็นเจ้าของ หรือ การควบคุมของทรัพย์สินถูกเผยแก่สาธารณะ (สาธารณะทราบว่าใครเป็นเจ้าของ หรือใครควบคุมสิ่งนั้นๆ ) และ ตรวจสอบได้
โครงการนำร่องชื่อดังหลายโครงการที่นำ blockchain มาทำลองใช้กับระบบ และมีการบังคับใช้งานในแวดวงการซื้อขายสินค้าและพลังงานไปเรียบร้อยแล้ว ได้แก่
- ผู้ประกอบการสินค้าบริโภคทั่วโลกรายหนึ่งดำเนินโครงการนำร่อง กับธนาคาร 2 แห่งในการนำเทคโนโลยี blockchain มาใช้ในกระบวนการสร้างเครดิตในการขนส่งสินค้าด้วยเครื่องบิน
- ผู้ประกอบการสินค้าบริโภคทั่วโลกรายหนึ่งที่ทำงานร่วมกับธนาคาร 1 แห่งและพันธมิตรทางเทคโนโลยี ร่วมกันพัฒนา finalcial platform ของการซื้อขายสินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำธุรกรรมการซื้อขายน้ำมันดิบในสหรัฐฯ
- กลุ่มบริษัทที่เกี่ยวกับด้านพลังงานของยุโรปและบริษัท Wein Energy, BP และ ENI ร่วมกับบริษัทเทคโนโลยีที่ชื่อว่า BTL Group Ltd. ภายใต้การสนับสนุนของ EY จัดทำโครงการนำร่องของการนำเทคโนโลยี blockchain เพื่อความร่วมมือในการซื้อขายพลังงาน
- กลุ่มบริษัทด้านพลังงานยุโรปกว่า 20 แห่ง ร่วมกันจัดทำโครงการทดลองการขายส่งพลังงานและการทำธุรกรรมเกี่ยวกับก๊าซธรรมชาติบนแพลตฟอร์มด้วย blockchain
ในการใช้งานนำ technology blockchain มาใช้งานในแวดวงธุรกรรมการซื้อขายสิ้นค้าและพลังงานนั้น ทางด้าน EY เชื่อว่าส่ิงที่มีคุณค่ามากที่สุดอยู่ที่การพัฒนาระบบนิเวศ Blockchain ที่เป็นส่วนตัว “a private blockchain-enabled ecosystem” ให้ครอบคลุมทุกขั้นตอนการทำธุรกรรมตั้นแต่ต้นจนจบ หรือ end-to-end จากนั้นเมื่อนำ blockchain มาเป็นกลไกในการกำหนดราคาซื้อขายอย่างครอบคลุมทุกขั้นตอนแล้ว ก็สามารถประหยัดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในขั้นตอนต่างๆได้อย่างง่ายดาย แต่ว่าความท้าทายทางปฏิบัตินั้นอาจจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการนำไปใช้ในวงกว้างก็เป็นได้ ไม่ว่าจะเป็น การศึกษาเกี่ยวกับกฎข้อบังคับ หรือ สิ่งจูงใจของผู้ครองตลาด อย่างไรตามเพื่อให้การกำหนดแนวทางที่ชัดเจนและแนวมีทางการกำหนดเป้าหมายที่มีศักยภาพนั้นมีข้อแนะนำดังนี้
- มีการ design สถาปัตยกรรมเบื้องต้วให้สามารถการขยายตัวและการรับมือกับคู่แข่ง กล่าวได้ว่าการ design นั้นต้องให้ครอบคลุมถึงมาตรฐานของวงจรธุรกรรม และรองรับผู้ร่วมจำนวนมากเพื่อให้สามารถรองรับการทำธุรกรรมหลากหลาย
- พัฒนาแต่ละขั้นตอนหรือโมลดูลต่างอย่างต่อเนื่อง(เช่น โมลดูลสำหรับการยืนยัน, การวางขอบเขต, การทำให้เกิดขึ้นอย่างจริง และ การชำระเงิน) และผสานรวมเข้าด้วยกันอย่างราบรื่น สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้สามารถจัดลำดับความสำคัญของกระบวนการต่างๆที่มีประโยชน์มากขึ้นและลดความเสี่ยงโดยเฉพาะในระยะสั้นลงได้ดียิ่งขึ้น
EY ได้จัดงานที่ชื่อว่า 2016 Start-up Challenge โดยที่เน้นเรื่องของการใช้ blockchain ในการซื้อขายพลังงานมาเพื่อพิสูจน์แนวคิดนี้ โดย EY ได้สร้างกลุ่มชื่อว่า Blockchain for Energy Trading Working Group ที่เป็นการรวมตัวจากหลากหลายบริษัทที่เป็นผู้นำทางด้านการค้าพลังงาน โดยจะติดตามแนวทางการขับเคลื่อนระบบที่มีรูปแบบการทำงานตั้งแต่ end-to-end โดเฉพาะการใช้เทคโนโลยี blockchain ในแวดวงการซื้อขายสินค้าและพลังงาน ในฐานะที่เป็นกลุ่มทำงานแนวหน้า EV จะพยายามเข้าถึงปัญหาต่างๆที่ยังเกิดขึ้นอยู่ ที่เป็นรูปธรรมและให้พร้อมถึงผู้ครอบครองตลาดที่จะเข้าร่วมโครงการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น